การเลือกซื้อเครื่องช่วยฟัง

ห้ามทำเรื่องต่อไปนี้ถ้าไม่อยากจะต้องมาซื้อเครื่องช่วยฟังใช้งานก่อนวัยอันควร

         หากไม่นับรวมคนที่เกิดมาพร้อมกับความผิดปกติทางการได้ยินมาตั้งแต่เกิดแล้ว เราจะพบว่าคนที่เกิดมามีอวัยวะครบ  32 ประการ สามารถพูดคุยกับคนอื่นได้ปกติ เมื่อโตขึ้นมาก็สามารถจะมีปัญหาเกี่ยวกับการได้ยินเสียงเบาลงได้เช่นกัน

เพราะปัญหาการได้ยินเสียงเบาลงหรือไม่ได้ยินนั้นถือว่าเป็นอาการเจ็บป่วยอย่างหนึ่งที่ต้องรีบรักษาแต่หากรักษาแล้วไม่ได้ ก็ต้องหาตัวช่วยมาช่วยให้เราฟังเสียงได้ยินชัดเจนมากขึ้น ซึ่งปัจจุบันจะเป็นเครื่องช่วยฟัง ที่เราจะสามารถใสคล้องที่หูหรือใส่เข้าไปในรูหูก็ได้เพราะช่วยปรับระดับเสียงให้มีความดังมากขึ้น

ทำให้เราสามารถสื่อสารกับคนอื่นรู้เรื่อง แต่อย่างที่เรารู้กันดีว่าหากใครที่เคยใช้หูของตัวเองในการรับฟังเสียงได้ปกติแล้วอยู่ๆต้องมาใช้เครื่องช่วยฟัง บางครั้งก็รู้สึกอับอายและรู้สึกว่าการที่เราใช้เครื่องช่วยฟังเพราะเราเป็นคนพิการด้านการได้ยิน

ดังนั้น หากเราไม่ต้องที่จะต้องมาใช้เครื่องช่วยฟังก่อนถึงวัยอันควร เราจึงควรหลีกเลี่ยงการกระทำดังต่อไปนี้ที่จะส่งผลให้หูของเรามีปัญหาการได้ยินเสียงน้อยลงได้เร็วขึ้น

เริ่มจากสิ่งใกล้ตัวก่อน

นั่นก็คือการเอาอะไรแคะ หรือแหย่เข้ามาในรูหู บางคนรักความสะอาดมากมักจะใช้สำลีพันไม้แล้วใช้เช็ดหูทุกวันทั้งก่อนและหลังอาบน้ำ

ซึ่งการที่เราเอาอะไรมาแคะหรือแหย่เข้าไปในหูนั้นบางครั้งหากอุปกรณ์นั้นแหลมคมก็จะไปกระแทกโดนข้างในหูทำให้เกิดการบาดเจ็บก็จะทำให้ข้างในหูเป็นแผล หรือหากไปโดนเยื่อแก้วหูก็จะทำให้หูหนวกได้ หรือหากอุปกรณ์นั้นไม่สะอาดก็จะทำให้หูติดเชื้อได้ซึ่งจะมีผลทำให้หูไม่ค่อยได้ยินเสียงได้เช่นกัน

การที่อยู่ในบริเวณที่มีเสียงดังมากๆเป็นเวลานาน

เช่นการไปเที่ยวตามร้านอาหารตามผับ หรือแม้แต่การนั่งใกล้กับลำโพงขยายเสียง รวมถึงการทำงานในแหล่งที่มีเสียงดังมากๆตามโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ

ก็จะมีผลทำให้หูของเราอักเสบและการได้ยินเสียงก็จะค่อยๆลดน้อยลง หรือบางครั้งการที่เราฟังเพลงจากโทรศัพท์มือถือหรือพวกเครื่องเล่นเพลง MP3 เรามักจะใช้กับอุปกรณ์หูฟังที่ต้องใส่เข้าไปในหูและส่วนมากก็มักจะเปิดเสียงดังมากๆ

เข้าไปในหูซึ่งการกระทำเหล่านี้จะมีผลให้ภายในหูเกิดการอักเสบและตามมาด้วยปัญหาการได้ยินเสียงลดลง ซึ่งหากเป็นอย่างนั้นก็จะต้องหันมาใช้เครื่องช่วยฟังเพื่อให้การได้ยินชัดขึ้น

เรื่องนี้ถูกเขียนใน สุขภาพเกี่ยวกับหู และติดป้ายกำกับ , , คั่นหน้า ลิงก์ถาวร