โรคฉี่หนู โรคฤดูฝน

โรคฉี่หนู หรือโรคเลปโตสไปโรซิส (Leptospirosis)

สวัสดี สมาชิกที่รักและใส่ใจในสุขภาพทุกคนครับ เผลอนิดเดียวนี่ก็หมดครึ่งแรกของปีแล้วนะครับ และช่วงนี้ก็เป็นช่วงฤดูฝน และในภาวะที่ฝนตกหนักจนในพื้นที่เกิดน้ำท่วมขัง ซึ่งทุกคนคงพอจะนึกภาพออกกับการเดินลุยน้ำท่วมขัง ซึ่งมีเชื้อโรคมากมาย ไม่เพียงแต่ก่อให้เกิดโรคตาแดง น้ำกัดเท้า เชื้อราที่เท้า อหิวาตกโรค โรคอุจจาระร่วง ฯลฯ แล้วนั้น ยังมีอีกโรคที่รุนแรงและเกิดเป็นประจำทุกปี นำมาซึ่งการเจ็บป่วยและเสียชีวิตของพี่น้องคนไทยทุกปี นั้นก็คือ โรคฉี่หนู พอถึงตรงนี้หากท่านใดที่ยังจำเป็นต้องเดินเท้าลุยนำ้ หรืออาศัยอยู่ในบริเวณที่นำ้ท่วมขังตลอดเมื่อมีฝนตก คงต้องมาทำความรู้จัก กับโรคฉี่หนู เพื่อหาวิธีป้องกัน เอาไว้ดีกว่าแก้ไข เพราะโรคนี้มักจะระบาดในช่วงที่มีนำ้ท่วมขัง และยังรุนแรงจนกระทั่งเสียชีวิตได้ด้วยเช่นกันครับ

โรคฉี่หนู หรือโรคเลปโตสไปโรซิส (Leptospirosis)

เกิดจากเชื้อกลุ่ม Leptospira มักพบการระบาดในหน้าฝน หรือช่วงที่มีน้ำท่วมขัง สัตว์ที่แพร่เชื้อโรคนี้ ได้แก่ พวกสัตว์ฟันแทะ เช่น หนู โดยที่ตัวมันไม่เป็นโรค สัตว์พวกนี้เก็บเชื้อไว้ที่ไต ดังนั้นเมื่อฉี่ออกมาจะมีเชื้อนี้ปนอยู่ด้วยจึงเป็นที่มาของคำว่า “โรคฉี่หนู” นอกจากจะพบเชื้อนี้ในหนูแล้วยังพบได้ใน สุนัข วัว ควาย เชื้อโรคนี้สามารถเข้าสู่ร่างกายคนได้ 2 ทางคือ

โรคฉี่หนู หรือโรคเลปโตสไปโรซิส (Leptospirosis)

สาเหตุ

เกิดจากเชื้อกลุ่ม Leptospira มักพบการระบาดในเดือนตุลาคม และพฤศจิกายน เนื่องจากเป็นฤดูฝนต่อฤดูหนาว หรือช่วงที่มีน้ำท่วมขัง

การติดต่อ

สัตว์ที่แพร่เชื้อโรคนี้ ได้แก่ พวกสัตว์ฟันแทะ เช่น หนู โดยที่ตัวมันไม่เป็นโรค สัตว์พวกนี้เก็บเชื้อไว้ที่ไต ดังนั้นเมื่อฉี่ออกมาจะมีเชื้อนี้ปนอยู่ด้วยจึงเป็นที่มาของคำว่า “โรคฉี่หนู” นอกจากจะพบเชื้อนี้ในหนูแล้วยังพบได้ใน สุนัข วัว ควาย เชื้อโรคนี้สามารถเข้าสู่ร่างกายคนได้ 2 ทางคือ

  1. ทางตรง โดยการสัมผัสสัตว์ที่มีเชื้ออยู่ หรือ โดนสัตว์ที่มีเชื้อกัด
  2. ทางอ้อม เช่น
  • เชื้อจากฉี่หนูปนอยู่ในน้ำหรือดิน แล้วเข้าสู่คนทางบาดแผล
  • มือสัมผัสเชื้อที่ปนอยู่ในน้ำหรือดิน แล้วเอาเชื้อเข้าทางเยื่อบุในปาก ตา จมูก
  • กินน้ำหรืออาหารที่ปนเปื้อนเชื้อโรคเข้าไป

อาการที่สำคัญ

มักเริ่มมีอาการหลังจากได้รับเชื้อประมาณ 4-14 วัน (โดยเฉลี่ย 10 วัน) เมื่อเชื้อเข้าสู่กระแสเลือดจะทำให้เกิดอาการ ไข้สูงหนาวสั่น ปวดหัวรุนแรง ตาแดง ปวดกล้ามเนื้อมากโดยเฉพาะบริเวณน่อง ขาเอว เวลากดหรือจับจะปวดมาก นอกจากนี้ยังอาจมีอาการเบื่ออาหาร คลื่นไส้อาเจียน บางรายมีอาการปวดท้อง ท้องเสีย บางรายอาการรุนแรงจนกระทั่งตับวาย ไตวาย และทำให้เสียชีวิตได้ในที่สุด

การรักษา

โรคนี้รักษาได้ด้วยยาปฏิชีวนะ เช่น เพนนิซิลิน ( penicillin) เตตร้าซัยคลิน (tetracycline) สเตร็ปโตมัยซิน (streptomycin) หรือ อิริทรอมัยซิน (erythromycin) ควรได้รับยาภายใน 4-7 วันหลังเกิดอาการ และควรได้รับน้ำและเกลือแร่อย่างเพียงพอ

การป้องกัน

  1. หลีกเลี่ยงการลุยน้ำลุยโคลน ถ้าจำเป็นควรสวมรองเท้าบู๊ทยางกันน้ำ โดยเฉพาะผู้ที่มีบาดแผลที่ขา
  2. กรณีที่ไม่มีรองเท้าบู๊ทยางกันน้ำ ถ้ามีบาดแผลที่ขา ให้ใช้ถุงพลาสติกสะอาดหรือวัสดุกันน้ำอื่นๆ ห่อหรือคลุมขาและเท้าหรือบริเวณที่มีบาดแผล
  3. หลีกเลี่ยงการแช่น้ำหรือย่ำโคลนนานๆ เมื่อพ้นจากน้ำแล้วต้องรีบล้างเท้าให้สะอาดด้วยสบู่แล้วเช็ดให้แห้งโดยเร็วที่สุด
  4. สวมกางเกงกันน้ำ หรือถุงมือกันน้ำ เมื่อต้องสัมผัสน้ำ เช่นเวลาเดินย่ำน้ำ หรือช่วยสร้างทำนบกั้นน้ำ หรือ ระหว่างทำความสะอาดบ้านหลังน้ำลด
  5. ระวังน้ำไม่สะอาดกระเด็นเข้าปาก ตา หรือ จมูก
  6. กินอาหารที่ปรุงสุกทันที และเก็บอาหารในภาชนะที่มีฝาปิดมิดชิด
  7. เก็บอาหารให้มิดชิด ไม่ให้หนูมากินแล้วฉี่ทิ้งไว้โดยที่เราไม่รู้ตัว ไม่ควรเก็บอาหารบริเวณที่ใช้นอน
  8. ห้ามกินน้ำตามแหล่งธรรมชาติในช่วงน้ำท่วม แต่ถ้าเลี่ยงไม่ได้ ต้องกรองน้ำและต้มน้ำให้ร้อนจัดก่อน
  9. ผักต้องล้างด้วยน้ำสะอาด ไม่ควรกินผักดิบแต่ควรต้มหรือผัดให้สุกก่อนกิน
  10. ผลไม้ต้องล้างด้วยน้ำสะอาด และควรปอกเปลือก
  11. ระวังน้ำแข็งที่ไม่สะอาด เพราะเชื้อฉี่หนูมีชีวิตอยู่ได้ในน้ำแข็ง
  12. ไม่ถ่ายอุจจาระหรือทิ้งขยะลงน้ำ ควรรวบรวมใส่ถุงพลาสติกแล้วมัดปากถุงให้แน่ ระวังถุงรั่ว
    หาภาชนะที่มีฝาปิด เพื่อรวบรวมถุงขยะ ถ้าไม่สามารถหาภาชนะมาใส่ได้ให้วางรวมในที่ที่สุนัขหรือ
  13. สัตว์อื่นมาคุ้ยให้ถุงขยะแตก และไกลจากบริเวณน้ำท่วมถึง
  14. พยายามลดปริมาณขยะเท่าที่ทำได้
  15. พยายามติดต่อหน่วยงานท้องถิ่นเพื่อให้นำขยะไปทำลายให้บ่อยที่สุดเท่าที่ทำได้
เรื่องนี้ถูกเขียนใน สุขภาพทั่วไป และติดป้ายกำกับ , , คั่นหน้า ลิงก์ถาวร