การสนับสนุนของสังคมในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

สังคมไทยในปัจจุบันเปลี่ยนแปลงไป ผู้หญิงมีบทบาทในการเลี้ยงดูบุตรและทำงานบ้าน อาจ รวมถึงการทำงานนอกบ้าน ทัศนคติ ความคาดหวังและมุมมองของสังคมที่ผู้หญิงต้องกลับไปทำงาน ทำให้เกิดค่านิยมในการเลี้ยงลูกไม่ให้ติดแม่ การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

รวมทั้งทัศนคติที่ไม่ดีในบางสังคมต่อการให้นมบุตร ในที่ สาธารณะ

ดังนั้นการคาดหวังของสังคมต่อบทบาทของผู้หญิงทำให้บางคนมองว่าการเลี้ยงลูกด้วยนม แม่เป็นการจำกัดกิจกรรมต่าง ๆ ของตนเองให้อยู่เฉพาะที่บ้านเท่านั้น ซึ่งความคาดหวังหรือค่านิยมใน สังคมมีส่วนสำคัญในการสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

ปัจจุบันสังคมไทยให้ความสำคัญกับการ เลี้ยงลูกด้วยนมแม่

มีการตื่นตัวและเกิดการขับเคลื่อนทางสังคมในทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง เนื่องจาก การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เป็นรากฐานของชีวิตเด็ก อันจะนำไปสู่สุขภาวะที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคมและสติปัญญา

องค์การทั่วไปที่สนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ที่เป็นองค์การ ระดับชาติ อาทิ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงแรงงาน กรมสวัสดิการและคุ้มครอง แรงงาน กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กรุงเทพมหานคร องค์การยูนิเซฟ ประเทศไทย องค์การอนามัยโลก ประเทศไทย และมูลนิธิศูนย์นมแม่แห่งประเทศไทย

มีการจัดตั้ง เครือข่ายทางสังคมของผู้หญิงซึ่งมีอิทธิพลอย่างมากต่อกระบวนการตัดสินใจเลี้ยงลูกด้วย

  • นมแม่ โดยเฉพาะแม่มือใหม่ เช่น โครงการโรงพยาบาลสายใยรักแห่งครอบครัว โดยมีเป้าหมายเพื่อ
  • สร้าง กระแสค่านิยมว่า การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เป็นสิ่งที่ดีที่สุดที่แม่ทุกคนควรปฏิบัติ และทุกคน
  • ทุก หน่วยงานในสังคมควรให้การสนับสนุน โดยมีกลุ่มสนับสนุนนมแม่
  • ให้การช่วยเหลือและสนับสนุน นมแม่ด้วยกันเอง และสนับสนุนนโยบายกระทรวงสาธารณสุข
  • ตามเป้าหมายที่กำหนดให้แม่เลี้ยงลูก ด้วยนมแม่อย่างเดียวอย่างน้อย 6 เดือน

และให้นมแม่ร่วมกับอาหารตามวัยที่เหมาะสมและเพียงพอ จนถึง 2 ปีหรือนานกว่านั้นนอกจากนี้ยังมีการสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในสถานประกอบกิจการ โดยให้มีการจัดตั้ง "มุมนมแม่” ขึ้นในสถานประกอบกิจการ เช่น โรงงานที่มีจำนวนผู้หญิง ทำงานมาก โรงเรียน

ธนาคาร หรือตามศูนย์การค้า เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีสถานรับเลี้ยงเด็กในที่ ทำงาน ให้เป็นกระแสสังคมที่ทุกภาคส่วนร่วมกันดำเนินการเพื่อสนับสนุนส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วย

สรุป การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เป็นรากฐานของชีวิตเด็ก อันจะนำไปสู่สุขภาวะที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม และสติปัญญา เพื่อพัฒนาเป็นทรัพยากรบุคคลที่มีคุณภาพและเป็นอนาคตของประเทศ

การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จะประสบความสำเร็จตามข้อแนะนำให้เลี้ยงลูกด้วยนมแม่เพียงอย่าง เดียวจนถึง 6 เดือน และควรให้ลูกได้รับนมแม่ร่วมกับอาหารตามวัยจนถึง 2 ปีหรือนานกว่านั้น ไม่ใช่ เรื่องง่ายแต่ก็สามารถทำได้ถ้าทุกภาคส่วน ตั้งแต่บุคคล ครอบครัว ชุมชน

รวมทั้งหน่วยงานทั้งภาครัฐ และเอกชนที่เกี่ยวข้อง ตระหนักถึงความสำคัญของประโยชน์ที่มากมายของนมแม่ ร่วมกันสนับสนุน ให้แม่เกิดความมั่นใจก็จะประสบความสำเร็จในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างต่อเนื่องตามต้องการได้

 

สนับสนุนโดย    เครื่องช่วยฟังอย่างดี

เรื่องนี้ถูกเขียนใน สุขภาพ และติดป้ายกำกับ , คั่นหน้า ลิงก์ถาวร